Badminton Club 95
Badminton Chill Club
วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554
จัดทำเสื้อก๊วน Badminton Chill Club
วันนี้นึกอะไรไม่รู้ อยากทำเสื้อก๊วน Chill Club ขึ้นมา เลยพยายามหาดีไซน์เจ๋งๆ อยู่ แล้วก็กำลังคุยกับสมาชิกชิลอยู่ว่าจะทำแบบไหนดี คือว่าก็เล่นกันมาพักนึงแล้วแต่ว่าไม่ได้เล่นจริงจังอะไร ก็เลยคิดว่าถ้ามีเสื้อทีมขึ้นมาก็น่าจะทำให้ก๊วนเรามีกำลังใจ และก็ดูเป็นแบบว่า..เป็นจริงเป็นจังมากขึ้น อ่ะนะ คิดเผื่อไว้ ..แค่ท่าทางดูเหมือนเท่านั้นนะ ส่วนฝีมือ..ไม่ต้องพูดถึง..เหมือนเดิม ตาม slogan "ตบแป็ก ตีวืด.." อิอิ
ถ้าได้แบบเสื้อมาเมื่อไหร่จะเอามาอวดโฉมให้เพื่อนๆดูกันนะจ๊ะ
แล้วก็ถ้าเจอก๊วนเราที่สนามไหนก็ทักทายได้นะคะ
Have A Nice Day!!
Badminton Chill Club-Rayong
ถ้าได้แบบเสื้อมาเมื่อไหร่จะเอามาอวดโฉมให้เพื่อนๆดูกันนะจ๊ะ
แล้วก็ถ้าเจอก๊วนเราที่สนามไหนก็ทักทายได้นะคะ
Have A Nice Day!!
Badminton Chill Club-Rayong
วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554
เชิญจัดอันดับฝีมือตัวเอง (1-10)
พอดีเห็นแล้วบความน่ารักดีเลยนำมาให้เพื่อนๆ Chill Club เราลองจัดอันดับตัวเองเล่นๆ กันนะคะ
เชิญจัดอันดับฝีมือตัวเอง 1-10 ดูซิว่าคุณอยู่อันดับไหน
เคยคิดไหมครับว่า ... ตัวเองเก่งหรือตีดีกว่าคนนู้นคนนี้
ผมมีระดับมาให้ลองเลือกดูกันว่า คุณจะแน่สักแค่ไหน ฮ่าๆ
พอรู้... ระดับตัวเองหรือคนอื่นๆแล้ว จะได้ตีกันให้มันสนุกมากขึ้น
เริ่มจาก ระดับ (เต็ม 10)
10 ทีมชาติ (อันนี้จบเลย ไม่ต้องต่อความ)
9 นักกีฬาเขต/เยาวชนทีมชาติ (น่ากลัว)
8 อดีตทีมชาติ/นักกีฬาเขต มือเก่า เก๋าเกมส์
7 ตัวมหา'ลัย/มือแข่งขันรุ่นทั่วไป/ล่ารางวัล แบบว่า จาทีมชาติก็ไม่ได้เค้ารับน้อยตีในชมรมก็มีแต่คนกัวไม่กล้าตีด้วย(สงสัยต้องเดินสายตามชมรม แบบนักสนุ๊ก)
6 มือหนัก(สงสัยมือเปงหิน) บางทีเค้าก็เรียกว่า มือแข็ง (สงสัยมะยกมือหวัดดีผู้ใหญ่)/มักลงแข่งรุ่นจำกัดมือ(เพื่อเคี้ยว แต่ก็เล่นรุ่นทั่วไป(ไปเปงอีกที)ได้ อะนี้ ฝีมือระดับต้นๆของชมรมอาจเปงนักล่ารางวัลมาก่อน รึกำลังฟิตเพื่อจะเปงนักล่ารางวัล
5 ฝีมือดี เหนียวแน่น (แก่ง่าย)ตายยาก มีประสพการณ์ ตีเดี่ยวก็ได้ ตีคู่ก็ดี แต่อาจตีไม่หนัก เล่นเอาเหงื่อหรืออาจยังพอมีจุดอ่อนที่ยังเห็นชัด เช่น ตีแบ็คไม่ถึง/ตบเบา หรือ ไม่มีแรง
4 ตีเป็นเกม มี ตบ/วาง/เซฟ(ดูชัดเจน..อ่อ นี่ตบ.. นั่นเซฟ..)แต่ ขาดประสพการณ์ ประมาณว่าถ้าจาเอาแต้มผมก็ตบก็บุกมา ไม่งั้นผมตบ(ติดเน็ต)ให้ดูเอง
3 ตีโต้ได้ เริ่มวิ่งในเกม เล่นคู่เริ่มยืนถูกตำแหน่ง(เข้าหน้า/คุมหลัง/แยกคอร์ท)ได้เริ่มตีเป็นเกม(แต่ยังไม่โหด)
2 ตีโดนลูก/นับแต้มในเกมเป็น แต่ขาดทักษะ/ท่าทางการตียังไม่เข้าที่ ตีวืด/ตีเสียง่ายยังไม่รู้ว่าควรยืนหรือวิ่งไปไหนในเกมคู่
1 เริ่มจับไม้ ได้ไม่นาน ยังตีไม่ค่อยถูกลูก (แต่จายร้าก น้าค้าาาา)
0 จับไม้ทุกวัน แต่ตีไม่เปง (รับขึ้นเอ็นอย่างเดียวก๊าบ...)
คุณ... ฝีมือระดับไหน ??
Badminton Chill Club-Rayong
วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554
เมื่อเอ็นแบดมินตันขาด (แล้วทำไง)
มีอยู่วันนึงก๊วนเราเคยเล่นแบดกัน แล้วมีน้องคนนึงเล่นแล้วเอ็นไม้แบดขาดปึ๊งเลย ก็ไม่ได้คิดอะไร ยังไม่ยอมไปขึ้นเอ็นใหม่ เก็บไว้เกือบอาทิตย์นึงพอมีเวลาว่างก็เอาไปขึ้นเอ็น ปรากฏว่าไม้แบดมินตัน "เฟรมเบี้ยว" ค่ะ น้องมันก็เลย "อ้าวเฮ้ย..เบี้ยวได้ไงอ่ะ งง.." (เสียดายที่ไม่ได้ถ่ายรูปไว้ให้เพื่อนๆดู) พี่คนขึ้นเอ็นให้เห็นแล้วก็เลยอธิบายให้ฟังกันยกใหญ่ เกี่ยวกับเรื่อง เมื่อเอ็นขาดควรรีบตัดเอ็น .. ดังนั้นวันนี้เราเลยได้หาบทความดีๆ มาให้เพื่อนๆ ได้ทราบเหตุผลกันค่ะ
................................................................................................
" เวลาเอ็นขาด ทำไมจะต้องรีบตัดเอ็น??
................................................................................................
" เวลาเอ็นขาด ทำไมจะต้องรีบตัดเอ็น??
สาเหตุเพราะถ้าขึ้นเอ็นปอนด์สูงๆ (25-30 ปอนด์) เวลาเอ็นขาดแล้วไม่ตัด
ความตึงที่ไม่สมดุลเหมือนตอนเอ็นไม่ขาด มีโอกาสทำให้เฟรมเบี้ยว หรือเฟรมร้าวได้
ดังนั้นจึงต้องรีบตัดเอ็นออก แต่เอ๊ะ รู้มั๊ย?ว่าถ้าปอนด์สูงจริงๆแล้วตัดเอ็นไม่ถูกวิธี
ก็มีโอกาสทำให้เฟรมเบี้ยว เฟรมบิด เฟรมร้าวได้ เช่นเดียวกัน
ด้วยเหตุนี้ เรามาเรียนรู้วิธีการตัดเอ็นที่ถูกวิธีกันเถอะ
การตัดเอ็นที่ถูกวิธีจะทำให้ไม่เกิดความตึงที่ไม่สมดุลที่เป็นเหตุให้เฟรมร้าว หรือบิดเบี้ยว

อธิบายจากรูปน่าจะง่ายกว่า
ขั้นแรก ตัดตามตัวเลข คือเริ่มตัดจากเลข 1 โดยตัดเอ็นแนวดิ่ง 2 เส้นให้ขาดก่อน
ขั้นที่สอง ตัดเอ็นหมายเลข 1 ที่เป็นเอ็นแนวนอน 2 เส้นให้ขาดตาม
ขั้นที่สาม ตัดเอ็นหมายเลข 2 ที่เป็นเอ็นแนวดิ่ง ให้ขาดก่อน
ขั้นที่สี่ ตัดเอ็นหมายเลข 2 ที่เป็นเอ็นแนวนอน ให้ขาดตาม
ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จะขาดเป็นรูป บวก
ไม่จำเป็นต้องดึงเอ็นออก ส่งไปร้านขึ้นเอ็นได้เลย
ถ้าคนขึ้นเอ็นแบดมินตันที่รู้เรื่องดีๆ แค่เห็นรอยตัดเอ็น
ก็รู้แล้วว่าเจ้าของใส่ใจไม้แบดแค่ไหน ^_^
ความตึงที่ไม่สมดุลเหมือนตอนเอ็นไม่ขาด มีโอกาสทำให้เฟรมเบี้ยว หรือเฟรมร้าวได้
ดังนั้นจึงต้องรีบตัดเอ็นออก แต่เอ๊ะ รู้มั๊ย?ว่าถ้าปอนด์สูงจริงๆแล้วตัดเอ็นไม่ถูกวิธี
ก็มีโอกาสทำให้เฟรมเบี้ยว เฟรมบิด เฟรมร้าวได้ เช่นเดียวกัน
ด้วยเหตุนี้ เรามาเรียนรู้วิธีการตัดเอ็นที่ถูกวิธีกันเถอะ
การตัดเอ็นที่ถูกวิธีจะทำให้ไม่เกิดความตึงที่ไม่สมดุลที่เป็นเหตุให้เฟรมร้าว หรือบิดเบี้ยว

อธิบายจากรูปน่าจะง่ายกว่า
ขั้นแรก ตัดตามตัวเลข คือเริ่มตัดจากเลข 1 โดยตัดเอ็นแนวดิ่ง 2 เส้นให้ขาดก่อน
ขั้นที่สอง ตัดเอ็นหมายเลข 1 ที่เป็นเอ็นแนวนอน 2 เส้นให้ขาดตาม
ขั้นที่สาม ตัดเอ็นหมายเลข 2 ที่เป็นเอ็นแนวดิ่ง ให้ขาดก่อน
ขั้นที่สี่ ตัดเอ็นหมายเลข 2 ที่เป็นเอ็นแนวนอน ให้ขาดตาม
ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จะขาดเป็นรูป บวก
ไม่จำเป็นต้องดึงเอ็นออก ส่งไปร้านขึ้นเอ็นได้เลย
ถ้าคนขึ้นเอ็นแบดมินตันที่รู้เรื่องดีๆ แค่เห็นรอยตัดเอ็น
ก็รู้แล้วว่าเจ้าของใส่ใจไม้แบดแค่ไหน ^_^
ที่มา: madbit badminton
หวังว่าไม้แบดมินตันของเพื่อนๆ คงไม่เฟรมเบี้ยวกันนะคะ
Badminton Chill Club-Rayong
วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554
กลวิธีการเสิร์ฟลูกในการเล่นแบดมินตัน (ประเภทคู่)
เย็นวันนี้ "แบดมินตันชิลคลับ" เรามีนัดรวมตัวตีแบดกันหลังเลิกงานค่ะ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เล่นประเภทคู่กันอยู่แล้วอ่ะนะคะ พวกเราก็เป็นนักแบดมือใหม่กัน มักจะมีปัญหาในเรื่องการเสิร์ฟลูกกัน คือจะเก้เก้ กังกัง การยืนเสิร์ฟก็ไม่ค่อยจะถูกคอร์ท (พวกเราเพิ่งนับแต้มเป็นก็เล่่นที่สนามนี้แหละค่ะ อิอิ)
เราเองมักพบจุดอ่อนเกี่ยวกับการเสิร์ฟลูกของคู่เราบ่อยๆ ก็คือว่าคู่เราเป็นผู้ชาย แล้วเวลาคู่เราเสิร์ฟเนี่ย มักจะยืนเสิร์ฟลูกใกล้หน้าเนต คือชอบเสิร์ฟหยอดหน้าเนต (ทำให้เราต้องยืนคุมหลังง่ะ) เหมือนจะดีนะ แต่คู่แข่งเรามักจะตีงัดโด่งมาหลังทุกที มันทำให้เราเหนื่อยอ่ะ ต้องวิ่งหลัง แถมเราาตีโต้กลับไม่ถึงหลังอีก เฮ้อ..เหนื่อย+เสียแต้มทุกที เลยต้องพยายามหาเทคนิคการเสิร์ฟเพื่อปรับปรุงการเล่นเราให้ดีขึ้น บังเอิญได้ไปเจอบทความนึงเกี่ยวกับ "กลวิธีการเสิร์ฟลูกในการเล่นแบดมินตันประเภทคู่" พี่เขาเขียนได้ดีมากทีเดียว เพื่อนๆลองอ่านดูและนำไปฝึกฝีมือกันนะคะ
..................................................................................................
กลวิธีการเสิร์ฟลูกในการเล่นแบดมินตันประเภทคู่การเสิร์ฟลูกในการแข่งขันแบดมินตันประเภทคู่ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก การเสิร์ฟทุกครั้งต้องให้มีคุณภาพ โดยเฉพาะการเสิร์ฟหยอดไปหน้าเน็ต ถ้าคุณเสิร์ฟลูกลอยโด่งเกินไปเพียงนิดเดียว คู่แข่งขันก็สามารถฉวยโอกาสโจมตีกลับได้อย่างง่ายดาย ลูกเสิร์ฟที่มีคุณภาพจะทำให้เราเป็นผู้กำหนดเกมส์ให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้ เคล็ดลับการเสิร์ฟลูกให้ดีมีหลายแง่มุมที่เราต้องพิจารณา เราอาจแจกแจงเป็นหัวข้อได้ดังต่อไปนี้:
1. ต้องเสิร์ฟลูกได้แม่นยำและมีคุณภาพ
พูดง่าย ๆ ก็คือ การเสิร์ฟในแต่ละครั้งจะต้องลงในจุดที่เล็งเอาไว้ เช่น เล็งว่าจะให้ลูกตกทางซ้ายหน้าเน็ต ลูกก็ต้องตกตามที่เล็งไว้ ไม่ใช่ว่าเล็งซ้าย แต่พอเสิร์ฟไป ลูกกลับวิ่งไปทางขวา หรือไม่ก็ออกนอกเส้นไปเลย
นอกจากนี้ยังต้องใส่ใจเรื่องคุณภาพของลูกเสิร์ฟด้วย ถ้าเสิร์ฟหยอดหน้าเน็ตก็ต้องให้ลูกวิ่งเรียดเน็ตให้มากที่สุด น้ำหนักของการเสิร์ฟก็จะต้องไม่น้อยหรือมากเกินไป ถ้าเสิร์ฟลูกเบาไป ลูกก็อาจไปตกในเส้นลูกเสิร์ฟสั้น แต่ถ้าเสิร์ฟแรงไป คู่ต่อสู้ก็สามารถดักตบได้สบาย ถ้าเลือกที่จะเสิร์ฟยาว ต้องมั่นใจว่าลูกจะได้น้ำหนักเพียงพอที่จะหนีมือคู่แข่งขัน แต่ก็ต้องไม่แรงจนเลยออกนอกเส้นเสิร์ฟยาว

ถ้าเสิร์ฟลูกเรียดเน็ตพอ คู่แข่งขันก็โจมตีกลับยาก
2. ท่าทางในการเสิร์ฟจะต้องเหมือนเดิม
ไม่ว่าคุณจะเล็งให้ลูกเสิร์ฟไปตกในตำแหน่งไหนก็ตาม ท่วงท่าในการเสิร์ฟทุกครั้งจะต้องเหมือนกัน กล่าวคือ ตั้งแต่ท่าเตรียมพร้อม, ท่ายืนก่อนจะส่งลูก, ท่าเตรียมตีลูกจนถึงจังหวะการตีลูกจะต้องเหมือนกันทุกครั้ง เหตุผลที่ต้องเหมือนกันเพราะจะทำให้คู่แข่งขันเดาไม่ได้ว่าเราจะเสิร์ฟลูกแบบไหน ถ้าการเสิร์ฟของคุณไม่เหมือนกันทุกครั้ง เช่นเวลาคุณเสิร์ฟสั้น คุณมักจะยืนสองขาขนานกัน ส่วนเสิร์ฟยาวจะเอาขาใดขาหนึ่งไว้ข้างหน้า ถ้าคู่แข่งขันจับไต๋ได้ก็จบเห่

ถนัดเสิร์ฟท่าไหน ก็ต้องทำให้เหมือนกันทุกครั้ง
3. เล็งจุดตกของลูกเสิร์ฟให้เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ
ถ้าเราเอาแต่เสิร์ฟไปจุดเดิมเรื่อย ๆ คู่ต่อสู้ก็จะคาดการณ์ลูกเสิร์ฟของเราได้ล่วงหน้า ดังนั้นจึงควรเล็งตำแหน่งลูกตกให้เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เสิร์ฟสั้นบ้าง ยาวบ้าง หรือเสิร์ฟไปซ้ายที ขวาที ถ้าทำแบบนี้จะทำให้คู่แข่งขันสับสน นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันไม่ให้คู่แข่งขัน กล้าที่จะพุ่งแย๊บลูกเสิร์ฟสั้นของเราอีกด้วย

เสิร์ฟไปจุดเดิม ๆ คู่แข่งขันก็ดักแย็บได้พอดี
4. เปลี่ยนจังหวะการเสิร์ฟเสียบ้าง
ในการแข่งขัน จังหวะการเสิร์ฟของเราจะต้องเปลี่ยนไปตามสภาพของคู่แข่งขัน อย่างเช่นจังหวะไหนที่คู่แข่งขันไม่ทันระวังก็ให้เสิร์ฟอย่างรวดเร็ว หรือบางทีถ้าฝ่ายเรากำลังเสียเปรียบอยู่ เราก็สามารถดึงเกมส์ให้ช้าลงด้วยการเสิร์ฟได้ จังหวะการเสิร์ฟควรจะต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตลอดทั้งเกมส์ บางทีก็เร็ว บางทีก็ช้า การทำแบบนี้จะทำให้คู่ต่อสู้ลังเลและสับสนจนทำให้จังหวะเสียได้
ที่มา: บล็อคแบดมินตัน โดย ชัยณรงค์ เตชะสถาพร
ขอขอบคุณจากใจ
แบดมินตันชิลคลับ95 - Rayong
เราเองมักพบจุดอ่อนเกี่ยวกับการเสิร์ฟลูกของคู่เราบ่อยๆ ก็คือว่าคู่เราเป็นผู้ชาย แล้วเวลาคู่เราเสิร์ฟเนี่ย มักจะยืนเสิร์ฟลูกใกล้หน้าเนต คือชอบเสิร์ฟหยอดหน้าเนต (ทำให้เราต้องยืนคุมหลังง่ะ) เหมือนจะดีนะ แต่คู่แข่งเรามักจะตีงัดโด่งมาหลังทุกที มันทำให้เราเหนื่อยอ่ะ ต้องวิ่งหลัง แถมเราาตีโต้กลับไม่ถึงหลังอีก เฮ้อ..เหนื่อย+เสียแต้มทุกที เลยต้องพยายามหาเทคนิคการเสิร์ฟเพื่อปรับปรุงการเล่นเราให้ดีขึ้น บังเอิญได้ไปเจอบทความนึงเกี่ยวกับ "กลวิธีการเสิร์ฟลูกในการเล่นแบดมินตันประเภทคู่" พี่เขาเขียนได้ดีมากทีเดียว เพื่อนๆลองอ่านดูและนำไปฝึกฝีมือกันนะคะ
..................................................................................................
กลวิธีการเสิร์ฟลูกในการเล่นแบดมินตันประเภทคู่การเสิร์ฟลูกในการแข่งขันแบดมินตันประเภทคู่ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก การเสิร์ฟทุกครั้งต้องให้มีคุณภาพ โดยเฉพาะการเสิร์ฟหยอดไปหน้าเน็ต ถ้าคุณเสิร์ฟลูกลอยโด่งเกินไปเพียงนิดเดียว คู่แข่งขันก็สามารถฉวยโอกาสโจมตีกลับได้อย่างง่ายดาย ลูกเสิร์ฟที่มีคุณภาพจะทำให้เราเป็นผู้กำหนดเกมส์ให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้ เคล็ดลับการเสิร์ฟลูกให้ดีมีหลายแง่มุมที่เราต้องพิจารณา เราอาจแจกแจงเป็นหัวข้อได้ดังต่อไปนี้:
1. ต้องเสิร์ฟลูกได้แม่นยำและมีคุณภาพ
พูดง่าย ๆ ก็คือ การเสิร์ฟในแต่ละครั้งจะต้องลงในจุดที่เล็งเอาไว้ เช่น เล็งว่าจะให้ลูกตกทางซ้ายหน้าเน็ต ลูกก็ต้องตกตามที่เล็งไว้ ไม่ใช่ว่าเล็งซ้าย แต่พอเสิร์ฟไป ลูกกลับวิ่งไปทางขวา หรือไม่ก็ออกนอกเส้นไปเลย
นอกจากนี้ยังต้องใส่ใจเรื่องคุณภาพของลูกเสิร์ฟด้วย ถ้าเสิร์ฟหยอดหน้าเน็ตก็ต้องให้ลูกวิ่งเรียดเน็ตให้มากที่สุด น้ำหนักของการเสิร์ฟก็จะต้องไม่น้อยหรือมากเกินไป ถ้าเสิร์ฟลูกเบาไป ลูกก็อาจไปตกในเส้นลูกเสิร์ฟสั้น แต่ถ้าเสิร์ฟแรงไป คู่ต่อสู้ก็สามารถดักตบได้สบาย ถ้าเลือกที่จะเสิร์ฟยาว ต้องมั่นใจว่าลูกจะได้น้ำหนักเพียงพอที่จะหนีมือคู่แข่งขัน แต่ก็ต้องไม่แรงจนเลยออกนอกเส้นเสิร์ฟยาว

ถ้าเสิร์ฟลูกเรียดเน็ตพอ คู่แข่งขันก็โจมตีกลับยาก
2. ท่าทางในการเสิร์ฟจะต้องเหมือนเดิม
ไม่ว่าคุณจะเล็งให้ลูกเสิร์ฟไปตกในตำแหน่งไหนก็ตาม ท่วงท่าในการเสิร์ฟทุกครั้งจะต้องเหมือนกัน กล่าวคือ ตั้งแต่ท่าเตรียมพร้อม, ท่ายืนก่อนจะส่งลูก, ท่าเตรียมตีลูกจนถึงจังหวะการตีลูกจะต้องเหมือนกันทุกครั้ง เหตุผลที่ต้องเหมือนกันเพราะจะทำให้คู่แข่งขันเดาไม่ได้ว่าเราจะเสิร์ฟลูกแบบไหน ถ้าการเสิร์ฟของคุณไม่เหมือนกันทุกครั้ง เช่นเวลาคุณเสิร์ฟสั้น คุณมักจะยืนสองขาขนานกัน ส่วนเสิร์ฟยาวจะเอาขาใดขาหนึ่งไว้ข้างหน้า ถ้าคู่แข่งขันจับไต๋ได้ก็จบเห่

ถนัดเสิร์ฟท่าไหน ก็ต้องทำให้เหมือนกันทุกครั้ง
3. เล็งจุดตกของลูกเสิร์ฟให้เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ
ถ้าเราเอาแต่เสิร์ฟไปจุดเดิมเรื่อย ๆ คู่ต่อสู้ก็จะคาดการณ์ลูกเสิร์ฟของเราได้ล่วงหน้า ดังนั้นจึงควรเล็งตำแหน่งลูกตกให้เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เสิร์ฟสั้นบ้าง ยาวบ้าง หรือเสิร์ฟไปซ้ายที ขวาที ถ้าทำแบบนี้จะทำให้คู่แข่งขันสับสน นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันไม่ให้คู่แข่งขัน กล้าที่จะพุ่งแย๊บลูกเสิร์ฟสั้นของเราอีกด้วย

เสิร์ฟไปจุดเดิม ๆ คู่แข่งขันก็ดักแย็บได้พอดี
4. เปลี่ยนจังหวะการเสิร์ฟเสียบ้าง
ในการแข่งขัน จังหวะการเสิร์ฟของเราจะต้องเปลี่ยนไปตามสภาพของคู่แข่งขัน อย่างเช่นจังหวะไหนที่คู่แข่งขันไม่ทันระวังก็ให้เสิร์ฟอย่างรวดเร็ว หรือบางทีถ้าฝ่ายเรากำลังเสียเปรียบอยู่ เราก็สามารถดึงเกมส์ให้ช้าลงด้วยการเสิร์ฟได้ จังหวะการเสิร์ฟควรจะต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตลอดทั้งเกมส์ บางทีก็เร็ว บางทีก็ช้า การทำแบบนี้จะทำให้คู่ต่อสู้ลังเลและสับสนจนทำให้จังหวะเสียได้
ที่มา: บล็อคแบดมินตัน โดย ชัยณรงค์ เตชะสถาพร
ขอขอบคุณจากใจ
แบดมินตันชิลคลับ95 - Rayong
วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554
Badminton Chill Club นักแบดมือใหม่ (ข้อบกพร่องหลักๆ)
สวัสดีค่ะ เพื่อนๆชาว Badminton Chill Club
วันนี้มีเพื่อนผู้แสนดีคนนึงส่งเมลล์บทความมาให้อ่านเกี่ยวกับการเล่นแบดมินตันของพวกมือใหม่อย่างพวกเราๆ ซึ่งอ่านแล้วมันช่างตรงกับพวกเราเสียจริงๆ เลยนำมาให้เพื่อนๆได้อ่านกันเผื่อจะโดนใจกันบ้างและนำไปปรับปรุงพัฒนาฝีมือการเล่นแบดมินตันให้ดีกว่าเดิม
แต่ก่อนอื่นใด Badminton Chill Club ต้องขอขอบคุณเจ้าของบทความนี้ด้วยนะคะ และต้องขอโทษเจ้าของบทความด้วยนะคะ ที่ไม่ได้ให้เครดิตกับเจ้าของบทความเพราะว่าไม่ทราบที่มาจริงๆค่ะ
ขออนุญาตลงบทความนะคะ
...................................................................................................
บทความ "ข้อบกพร่องหลัก ๆ ของนักแบดมือใหม่"
ข้อบกพร่องหลัก ๆ ของนักแบดมือใหม่ที่มักจะเห็นบ่อย ๆ ก็คือ:
1. ยืนตรงไหนก็ตีมันตรงนั้น
นักแบดมือใหม่มักจะเป็นแบบนี้เสมอ ลูกลอยมาเมื่อไหร่ก็พยายามเอื้อมมือไปตีลูกทันที ถึงแม้ลูกจะห่างตัวไปหน่อย แต่ถ้าเอื้อมถึงก็โอเค
แต่จริง ๆ แล้ว ก่อนที่เราจะตีทุกครั้ง เราต้องเคลื่อนตัวของเราไปยังตำแหน่งที่ตีลูกได้ดีที่สุดซึ่งก็คือบริเวณที่ลูกจะอยู่เหนือหัวเราตรง ๆ พอดี ถ้าตีลูกในตำแหน่งนี้เราจะตีได้ดีที่สุด เพราะเราสามารถใช้แรงของเราตีลูกได้อย่างเต็มที่
เมื่อวันอาทิตย์ก่อน(นู้น) ผมมีเพื่อนคนหนึ่งที่เพิ่งหัดเล่นแบดได้ไม่นาน เขามาบ่นกับผมว่าตีไม่ค่อยจะถึงหลังคอร์ท ผมก็เลยสอนเขาไปว่า "ขามาก่อนแขน" ซึ่งก็คือ ก่อนที่จะตีลูกทุกครั้ง ให้วิ่งไปถึงตำแหน่งที่จะตีลูกก่อน ปักหลักให้มั่นคง รับรองว่าตียังไงก็ถึงหลัง
2. ลืมใช้แขนลูกเมียน้อย
"แขนลูกเมียน้อย" ก็คือแขนอีกข้างของเราที่ไม่ได้ถือไม้แบด นักแบดมือใหม่ที่ผมเห็นนั้น ร้อยทั้งร้อยเวลาสวิงแขนขึ้นไปตีลูกแบดที่อยู่เหนือหัว มืออีกข้างมักจะห้อยอยู่ข้างตัว เวลาตีลูกก็จะตัวเอียง ๆ เหมือนคนแขนเดียวตีแบดยังไงยังงั้น
จริงอยู่ว่า ไม้แบดใช้มือเดียวถือ อีกมือไม่มีส่วนในการออกแรงตีลูกแบด แต่อย่าลืมว่า การตีแบดไม่ใช่สักแต่ตีออกไป แต่ต้องตีให้ไปลงคอร์ทฝั่งตรงข้ามด้วย การใช้แขนอีกข้างในการตีลูกทุกครั้งจึงจำเป็นอย่างมากเพราะมันช่วยเราให้ตีลูกได้แม่นยำยิ่งขึ้น
ประโยชน์หลัก ๆ ของแขนลูกเมียน้อยก็คือ 1. ใช้เล็งเป้า 2. ใช้คอนโทรลร่างกายให้สมดุล ดังนั้นมือใหม่จึงควรหัดเรียนรู้การใช้มืออีกข้างให้เป็นประโยชน์ รับรองว่าจะทำให้การตีพัฒนาขึ้นแบบเห็นได้ชัดเลยครับ
3. ตีแล้วลืมวิ่งเข้าคุมพื้นที่
การตีแบดแบบมือสมัครเล่นอย่างเรา ๆ ก็คือการตีแบดในประเภทคู่ การตีแบดแบบนี้เรากับคู่ของเราจะต้องช่วยกันคุมพื้นที่ คุมแบบซ้าย-ขวาบ้าง แบบหน้า-หลังบ้าง
นักแบดมือใหม่มักจะตีแบบขอให้มันผ่านเน็ตไปก็พอ พอตีเสร็จก็ยืนมันอยู่ตรงที่ตีนั่นแหล่ะ ไม่ได้วิ่งไปคุมพื้นที่ต่อ เปิดพื้นที่ว่างโล่งโจ้งให้กับฝั่งคู่แข่งโจมตีสบาย ๆ
ดังนั้นมือใหม่ควรเตือนตัวเองไว้ทุกครั้งเลยว่า หลังจากตีเสร็จต้องวิ่งเข้าคุมพื้นที่ด้วย ไม่งั้นจะทำให้เพื่อนเคืองเอาได้
4. ตบลูกแบบไม่ลืมหูลืมตา
นักแบดมือใหม่ที่หันมาเล่นแบดก็น่าจะเป็นเพราะแบดมันสนุก แล้วไอ้ความสนุกของการตีแบดหลัก ๆ มันก็อยู่ที่การ "ตบ" นี่แหล่ะ เวลาตบลูกลงนี่ ความรู้สึกดีชะมัด จริงไม๊
แต่ไอ้การสักแต่ตบนี่แหล่ะที่ทำให้ไม่พัฒนาไปไหนซักที ลูกลอยมาก็ตบ ลอยสูงก็ตบ ลูกพุ่งเร็วเป็นจรวดก็ตบ ลูกมาเรียดเน็ทก็ยังตบอีก --"
นักแบดเก่ง ๆ ส่วนมากมักจะตบเวลาที่มีโอกาสดี(เช่น ลูกลอยมาแค่กลางคอร์ท)เท่านั้น เพราะถ้าตบไปแล้วไม่แรงพอ ถ้าคู่แข่งขันรับกลับมาดีก็ต้องวิ่งกันเหนื่อย ดังนั้นสำหรับมือใหม่ทั้งหลาย ตบบ้าง โยนบ้าง หยอดบ้าง น่าจะโอเคกว่านะ
5. ตีลูกไม่ถึงหลัง
นักแบดมือใหม่มักจะลืมให้ความสำคัญกับการตีลูกให้ถึงแดนหลัง หารู้ไหมว่า การตีลูกให้ถึงแดนหลังนี่แหล่ะเป็นอาวุธหลักในการตีแบดเลยทีเดียว
การตีให้ถึงแดนหลังก็คือการตี "เซฟ" ที่เรียกว่าการตีเซฟก็เพราะมันเป็นการตีที่ดีที่สุดเวลาคิดอะไรไม่ออก ขอแค่ตีโยนไปให้ถึงแดนหลังของคู่แข่งขัน แค่นั้นก็ปลอดภัยพอสมควรแล้ว
นักแบดมือใหม่มักจะตีกันไม่ค่อยถึงหลังเท่าไหร่ เวลาที่ผมสอนพวกมือใหม่ ผมจะบอกก่อนเลยว่าให้ฝึกตีให้ถึงหลังก่อนเป็นอย่างแรก เพราะถ้าคุณตีลูกถึงหลังได้ทุกครั้ง ต่อให้คู่แข่งขันเก่งขนาดไหนก็ต้องเหนื่อยกันหน่อยล่ะกว่าจะเอาชนะคุณได้
ที่กล่าวมาก็เป็นข้อบกพร่องหลัก ๆ ของนักแบดมือใหม่นะครับ ก็เอาพอหอมปากหอมคอแค่นี้พอ พยายามฝึกกันนะครับ รับรองว่าจะช่วยให้คุณตีแบดได้สนุกขึ้นอีกเยอะเลย
.......................................................................................................
ว้าวววว!! อ่านแล้วโดนกันเลยไหมค่ะ ตัวเจ้าของบล็อกเองก็เป็นอย่างนี้ค่ะทุกข้อเลย หุหุ ^-^ เฮ้อ..อย่างนี้ต้องพยายามฝึกอย่างที่พี่กูรูเจ้าของบทความแนะนำซะแล้ว ฝีมือเราจะได้พัฒนาซะที อิอิ
เอาใจช่วยทุกๆคนเลยจ้าาาาา (รวมตัวเองด้วย)
Badminton Chill Club-Rayong
วันนี้มีเพื่อนผู้แสนดีคนนึงส่งเมลล์บทความมาให้อ่านเกี่ยวกับการเล่นแบดมินตันของพวกมือใหม่อย่างพวกเราๆ ซึ่งอ่านแล้วมันช่างตรงกับพวกเราเสียจริงๆ เลยนำมาให้เพื่อนๆได้อ่านกันเผื่อจะโดนใจกันบ้างและนำไปปรับปรุงพัฒนาฝีมือการเล่นแบดมินตันให้ดีกว่าเดิม
แต่ก่อนอื่นใด Badminton Chill Club ต้องขอขอบคุณเจ้าของบทความนี้ด้วยนะคะ และต้องขอโทษเจ้าของบทความด้วยนะคะ ที่ไม่ได้ให้เครดิตกับเจ้าของบทความเพราะว่าไม่ทราบที่มาจริงๆค่ะ
ขออนุญาตลงบทความนะคะ
...................................................................................................
บทความ "ข้อบกพร่องหลัก ๆ ของนักแบดมือใหม่"
ข้อบกพร่องหลัก ๆ ของนักแบดมือใหม่ที่มักจะเห็นบ่อย ๆ ก็คือ:
1. ยืนตรงไหนก็ตีมันตรงนั้น
นักแบดมือใหม่มักจะเป็นแบบนี้เสมอ ลูกลอยมาเมื่อไหร่ก็พยายามเอื้อมมือไปตีลูกทันที ถึงแม้ลูกจะห่างตัวไปหน่อย แต่ถ้าเอื้อมถึงก็โอเค
แต่จริง ๆ แล้ว ก่อนที่เราจะตีทุกครั้ง เราต้องเคลื่อนตัวของเราไปยังตำแหน่งที่ตีลูกได้ดีที่สุดซึ่งก็คือบริเวณที่ลูกจะอยู่เหนือหัวเราตรง ๆ พอดี ถ้าตีลูกในตำแหน่งนี้เราจะตีได้ดีที่สุด เพราะเราสามารถใช้แรงของเราตีลูกได้อย่างเต็มที่
เมื่อวันอาทิตย์ก่อน(นู้น) ผมมีเพื่อนคนหนึ่งที่เพิ่งหัดเล่นแบดได้ไม่นาน เขามาบ่นกับผมว่าตีไม่ค่อยจะถึงหลังคอร์ท ผมก็เลยสอนเขาไปว่า "ขามาก่อนแขน" ซึ่งก็คือ ก่อนที่จะตีลูกทุกครั้ง ให้วิ่งไปถึงตำแหน่งที่จะตีลูกก่อน ปักหลักให้มั่นคง รับรองว่าตียังไงก็ถึงหลัง
2. ลืมใช้แขนลูกเมียน้อย
"แขนลูกเมียน้อย" ก็คือแขนอีกข้างของเราที่ไม่ได้ถือไม้แบด นักแบดมือใหม่ที่ผมเห็นนั้น ร้อยทั้งร้อยเวลาสวิงแขนขึ้นไปตีลูกแบดที่อยู่เหนือหัว มืออีกข้างมักจะห้อยอยู่ข้างตัว เวลาตีลูกก็จะตัวเอียง ๆ เหมือนคนแขนเดียวตีแบดยังไงยังงั้น
จริงอยู่ว่า ไม้แบดใช้มือเดียวถือ อีกมือไม่มีส่วนในการออกแรงตีลูกแบด แต่อย่าลืมว่า การตีแบดไม่ใช่สักแต่ตีออกไป แต่ต้องตีให้ไปลงคอร์ทฝั่งตรงข้ามด้วย การใช้แขนอีกข้างในการตีลูกทุกครั้งจึงจำเป็นอย่างมากเพราะมันช่วยเราให้ตีลูกได้แม่นยำยิ่งขึ้น
ประโยชน์หลัก ๆ ของแขนลูกเมียน้อยก็คือ 1. ใช้เล็งเป้า 2. ใช้คอนโทรลร่างกายให้สมดุล ดังนั้นมือใหม่จึงควรหัดเรียนรู้การใช้มืออีกข้างให้เป็นประโยชน์ รับรองว่าจะทำให้การตีพัฒนาขึ้นแบบเห็นได้ชัดเลยครับ
3. ตีแล้วลืมวิ่งเข้าคุมพื้นที่
การตีแบดแบบมือสมัครเล่นอย่างเรา ๆ ก็คือการตีแบดในประเภทคู่ การตีแบดแบบนี้เรากับคู่ของเราจะต้องช่วยกันคุมพื้นที่ คุมแบบซ้าย-ขวาบ้าง แบบหน้า-หลังบ้าง
นักแบดมือใหม่มักจะตีแบบขอให้มันผ่านเน็ตไปก็พอ พอตีเสร็จก็ยืนมันอยู่ตรงที่ตีนั่นแหล่ะ ไม่ได้วิ่งไปคุมพื้นที่ต่อ เปิดพื้นที่ว่างโล่งโจ้งให้กับฝั่งคู่แข่งโจมตีสบาย ๆ
ดังนั้นมือใหม่ควรเตือนตัวเองไว้ทุกครั้งเลยว่า หลังจากตีเสร็จต้องวิ่งเข้าคุมพื้นที่ด้วย ไม่งั้นจะทำให้เพื่อนเคืองเอาได้
4. ตบลูกแบบไม่ลืมหูลืมตา
นักแบดมือใหม่ที่หันมาเล่นแบดก็น่าจะเป็นเพราะแบดมันสนุก แล้วไอ้ความสนุกของการตีแบดหลัก ๆ มันก็อยู่ที่การ "ตบ" นี่แหล่ะ เวลาตบลูกลงนี่ ความรู้สึกดีชะมัด จริงไม๊
แต่ไอ้การสักแต่ตบนี่แหล่ะที่ทำให้ไม่พัฒนาไปไหนซักที ลูกลอยมาก็ตบ ลอยสูงก็ตบ ลูกพุ่งเร็วเป็นจรวดก็ตบ ลูกมาเรียดเน็ทก็ยังตบอีก --"
นักแบดเก่ง ๆ ส่วนมากมักจะตบเวลาที่มีโอกาสดี(เช่น ลูกลอยมาแค่กลางคอร์ท)เท่านั้น เพราะถ้าตบไปแล้วไม่แรงพอ ถ้าคู่แข่งขันรับกลับมาดีก็ต้องวิ่งกันเหนื่อย ดังนั้นสำหรับมือใหม่ทั้งหลาย ตบบ้าง โยนบ้าง หยอดบ้าง น่าจะโอเคกว่านะ
5. ตีลูกไม่ถึงหลัง
นักแบดมือใหม่มักจะลืมให้ความสำคัญกับการตีลูกให้ถึงแดนหลัง หารู้ไหมว่า การตีลูกให้ถึงแดนหลังนี่แหล่ะเป็นอาวุธหลักในการตีแบดเลยทีเดียว
การตีให้ถึงแดนหลังก็คือการตี "เซฟ" ที่เรียกว่าการตีเซฟก็เพราะมันเป็นการตีที่ดีที่สุดเวลาคิดอะไรไม่ออก ขอแค่ตีโยนไปให้ถึงแดนหลังของคู่แข่งขัน แค่นั้นก็ปลอดภัยพอสมควรแล้ว
นักแบดมือใหม่มักจะตีกันไม่ค่อยถึงหลังเท่าไหร่ เวลาที่ผมสอนพวกมือใหม่ ผมจะบอกก่อนเลยว่าให้ฝึกตีให้ถึงหลังก่อนเป็นอย่างแรก เพราะถ้าคุณตีลูกถึงหลังได้ทุกครั้ง ต่อให้คู่แข่งขันเก่งขนาดไหนก็ต้องเหนื่อยกันหน่อยล่ะกว่าจะเอาชนะคุณได้
ที่กล่าวมาก็เป็นข้อบกพร่องหลัก ๆ ของนักแบดมือใหม่นะครับ ก็เอาพอหอมปากหอมคอแค่นี้พอ พยายามฝึกกันนะครับ รับรองว่าจะช่วยให้คุณตีแบดได้สนุกขึ้นอีกเยอะเลย
.......................................................................................................
ว้าวววว!! อ่านแล้วโดนกันเลยไหมค่ะ ตัวเจ้าของบล็อกเองก็เป็นอย่างนี้ค่ะทุกข้อเลย หุหุ ^-^ เฮ้อ..อย่างนี้ต้องพยายามฝึกอย่างที่พี่กูรูเจ้าของบทความแนะนำซะแล้ว ฝีมือเราจะได้พัฒนาซะที อิอิ
เอาใจช่วยทุกๆคนเลยจ้าาาาา (รวมตัวเองด้วย)
Badminton Chill Club-Rayong
วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554
Badminton Chill club รวมตัวค่ะ
สนามที่พวกเราชอบนัดกันไปเล่นแบดมินตันก็ที่สนาม DP Court ค่ะ (คนไม่เยอะดี แต่ถ้าช่วงค่ำๆก็ไม่แน่นะคะ)
วันนี้ก็เพิ่งไปลุยกันมา เอาซะเดี้ยงกันไปเลย เพราะสมาชิกที่มากันนี้ก็เลขสามนำหน้ากันแล้วทั้งนั้นค่ะ อิอิ ไว้คราวหน้าจะนำรูปสมาชิกมาลงให้ยลโฉมกันนะค๊า
ส่วนวันทำงานหลังเลิกงาน Badminton Chill Club เราก็จะไปเล่นที่สนามมาบชลูดกัน (สวนสาธารณะเทศบาลเมืองมาบตาพุด) ทุกวันอังคารและ/หรือวันพฤหัสฯค่ะ ที่สนามนี้จะฟรีค่ะ ไม่เสียค่าสนาม แต่คนเล่นก็จะเยอะหน่อยนะคะ ต้องทำใจนิดนึง เพราะมีแค่ 2 สนาม ต้องผลัดกันเล่นค่ะ ก็เลยต้องมีกติกามารยาทการใช้สนามกันนิดนึง คือ จะเล่นทีมละ 2 เซต แล้วก็ผลัดให้ทีมอื่นเล่นต่อค่ะ ..
ช่วงพักเหนื่อยก็ได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ทักษะการเล่นแบดมินตัน (...แล้วก็แอบจำเทคนิคการเล่นของนักแบดท่านอื่นๆกันหน่ะค่ะ.. เนื่องจากสมาชิก Chill Club เรา ยังอ่อนซ้อมกันอีกเยอะค่ะ อิอิ)
การเล่นแบดมินตันในสถานที่แบบนี้ก็ทำให้เราได้รู้จักการแบ่งปันค่ะ และความมีน้ำใจของเพื่อนๆที่เล่นแบดมินตันด้วยกันค่ะ
เดี๋ยวไว้คราวหน้า Chill Club เราจะนำมาเล่าให้ฟังนะคะ
วันนี้ขอตัวไปนอนก่อนค่ะ
Good night ค่ะ
Badminton Chill Club-Rayong
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)